วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปของอาจารย์แม่ จากสมุด Lecture ผมพยายามตั้งเป็นคำถามให้ตอบกันครับ

สรุปของอาจารย์แม่ จากสมุด Lecture ผมพยายามตั้งเป็นคำถามให้ตอบกันครับ

Q. ทำไมเราต้องศึกษาทฤษฎีการบริหารต่าง ๆ?
A. การศึกษาทฤษฎี เพราะว่า ทฤษฎีต่างจะให้
     1 Concept จนกลายเป็นทฤษฎี เมื่อมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย
     2 เป็นรากฐานของความจริง (Ground in reality)
     3 ต้องพยายามพัฒนาและประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อขับเคลื่อนองค์กรของเรา
     4 หลีกเลี่ยงความผิดพลาดในอดีต จะทำให้เราทำสิ่งที่ถูกในอนาคต

Q. ถ้าคุณเป็น manager คุณจะแสดงบทบาทและใช้ทักษะอะไรในนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ?
A. เราต้องแยกบทบาท และทักษะ ออกจากกัน
บทบาทที่เราจะนำไปใช้แบ่งเป็นมิติดังนี้
1 Interpersonal Role บทบาทในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น(Liaison) เพราะเราเป็นผู้นำจึงต้องมี ภาพของผู้นำ(Figure Head) และต้องแสดงความเป็นผู้นำ(Leader)
2 Information Role เราต้องรู้จักเลือกข้อมุล(Monitor)ที่สำคํญหรือจำเป็นในการรับรู้และนำไปใช้ และจะทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล(Disseminator)อย่างมีประสิทธิภาพ และจะเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ดี(Spokeperson)
3 Decision Role เราต้องมีความกล้าได้กล้าเสีย(Entreprenuer),ต้องปัดเป่าความเดือดร้อนในองค์กร(Disturbance handler),สามารถจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ(Resource Allocation) และสามารถเจรจาต่อรองได้ดี(negotiation)
ทักษะที่จำเป็นที่เราจะใช้แบ่งเป็นมิติดังนี้
1 Technical Skills เราต้องมีทักษะในแต่ละสายงานเรียนรู้ให้ทั่วถึง
        2 Interpersonal Skills จะใช้ทักษะในการประสานบุคคลและกลุ่มงานในด้านการสื่อสาร, ความเข้าใจ และสร้างแรงจูงใจ ซึ่งความสำคัญสูงสุด
        3 Conceptual Skills จะใช้ทักษะด้านแนวความคิด เพื่อสามารถเข้าใจโดยสรป คิดเป็นภาพกว้าง(big picture) และสามารถตัดสินใจบนพื้นฐานเพื่ออย่างกว้างเพื่อองค์กร
        4 Diagnostic Skills จะต้องใช้ทักษะการวินิจฉัย(diagnose)และวิเคราะห์(analyze) เพื่อมองหาสาเหตุของปัญหาและวางแนวทางแก้ไขได้ถูกทิศทาง
        5 Communication Skills จะต้องใช้ทักษะนี้ในการส่งและรับ ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        6 Decision Making Skills ต้องพยายามจัดกลุ่มปัญหาและแยกแยะสาเหตุ และมองหาโอกาส จากนั้นพยายามหาวิธีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดการสร้างโอกาส
        7 Time management Skills ต้องรู้จักการแบ่งเวลาและเรียงลำดับความสำคัญของงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและสามารถมอบหมายงานได้อย่างเหมาะสม






        Q. ท่านคิดว่าการบริหารเป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์หรือเป็นเรื่องของศิลปะ? และเพราะอะไร?
        A. การบริหารที่ดีต้องเป็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และมีศิลปะ เนื่องจาก เราต้องบริหารจัดการปัญหาและเรื่องราวต่าง ๆ บนพื้นฐานของเหตุผล ตรรษกะ วัตถุประสงค์ และ ต้องทำอย่างมีระบบ
ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิคการตัดสิน การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันการบริหารก็จำเป็นต้องทำอย่างมีศิลปะ ซึ่งในบางครั้งเราต้องอาศัย พื้นฐานของการหยั่งรุ้(Intuition), ประสพการณ์(Experience),สัญชาติญาณ(Instinct) และ personal insight
เช่นเมื่อเราทำ market research แล้วนำมาปฏิบัติแต่ผลไม่เป็นไปตามนั้น เราต้องรีบแก้ไขปรับเปลี่ยนโดยอาศัย intuition and personal insight ประกอบกัน





วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

CSR

“ธุรกิจไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในสังคมที่ล้มเหลว” (Business cannot succeed in a society that fails)
 
3 P (Profit, People, Planet)
 
Profit  ทำกำไรอย่างไรอย่าให้ผู้อื่นว่าเอาได้
People พนักงาน สุขภาพเงิน สุขภาพกาย สุขภาพใจ
             ลูกค้า ซื่อตรง ปลอดภัย ไว้วางใจ
             คู่ค้า ไม่โกง ไม่กัน ไม่กิน
             ชุมชน อย่าเป็นภาระ อย่าดูดาย อย่าไร้กลยุทธ
Planet สิ่งแวดล้อม  ยืมธรรมชาติมาเท่าไรคืนกลับให้หมด

การบริหารงานในองค์กร หรือในประเทศไทย

 การจัดการมุมมองนักบริหาร ได้จำแนกยุคการบริหารเป็น 3 มิติ ดังนี้
 มิติที่ 1  การบริหารแบบดั้งเดิม หรือแบบเก่า (Traditional Model)
 มิติที่ 2  การบริหารแบบมนุษยสัมพันธ์  (Human Relations Model)
 มิติที่ 3  การบริหารแบบทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Model)

Organization ประกอบด้วย 4 ทรัพยากร(resource)
Physical, Information, Human and Financial Resource

วัฒนธรรมองค์กรของไทยจะยอมรับการประนีประนอมมากกว่า เรื่องบริหารคนต้องมุ่งไปที่การบริหาร น้ำใจมากกว่าไปมุ่งเน้นที่ผลตอบแทนเป็นตัวเงิน

การจัดวางทิศทางองค์กร

กำหนด Vision, Mission, Philosophy and Core Value

วิเคราะห์สภาพแวดล้อม
SWOT Analysis

การกำหนดกลยุทธ์ Strategy Formulation
กลยุทธ์ หมายถึง แผนของผู้บริหารระดับสูงที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับ
ภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร


การปฏิบัติตามกลยุทธ์ Strategy Implementation ซึ่งอาจใช้ BSC


มิติ Balance Scorecard

- มุมมองด้านการเงิน(Financial Perspective) RBM
- มุมมองด้านลูกค้า(Customer Perspective) TQM (Customer Oriented, Continuous improvement and Employee involvement)
- มุมมองด้านกระบวนการภายใน(Internal Process Perspective) Good Governor (1.การมีกฎ กติกา ระเบียบ ที่เอื้ออำนวย หรือสนับสนุน ต่อการบริหารจัดการที่ดี 2. การมีผู้นำที่ดีในองค์การ 3. การมีระบบตรวจสอบภายในองค์กร 4. การมีระบบพัฒนา)
Change Management(ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนตัวเองและองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ใน 6 มิติ
1. Goal and strategies
2. Technology
3. Job redesigns องค์กรต้องจัดงานออกเป็นกลุ่มให้มีความมากน้อยในเรื่อง ความหลากหลาย, ความเป็นอิสระ, การมีลักษณะเฉพาะ, การให้ความสำคัญ, ระบบ feedback
4. Structure
5. Process
6. People
- มุมมองการเรียนรู้(Learning and Growth Perspective) Knowledge Management
คือการจัดการให้ทุกคนมีความรอบรู้ พัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาฐานความรุ้
Learning Organization(บุคคลที่รอบรู้, ความคิดเป็นระบบ, รูปแบบความคิด, เรียนรุ้เป็นทีม และวิสัยทัศน์ร่วม)

เครื่องมือสนับสนุน
-Results Based Management (RBM )
-Total Quality Management (TQM)
-Good governance Change Management
-Knowledge Management Learning Organization


การควบคุมกลยุทธ์ Strategy Control


อธิบายเสริม

Learning Organization เป็นกระบวนการบริหารรูปแบบใหม่ ที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความเป็นผู้นำและการเรียนรู้ของบุคลากรภายในองค์กร องค์กรเรียนรู้จะเน้นรูปแบบการทำงานเป็นทีม เสริมสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างสรรค์ความคิดและความเข้าใจในการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยประสานรับกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็ง และสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
1.บุคคลที่รอบรู้(Personal mastery)บุคคลควรได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาอยู่เสมอโดยการพัฒนาควรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รูปแบบของการเรียนรู้จะเน้นการเรียนรู้ในที่ทำงาน (Work place learning) หรือการเรียนรู้ภายใต้กระบวนการทำงาน (On the job learning) อีกทั้งบุคคลควรทราบถึงความเป็นตนเอง ทราบขีดความสามารถและวิสัยทัศน์แห่งตน และควรสามารถจัดการช่องว่างระหว่างวิสัยทัศน์ของตนเองกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในองค์กร
2.ความคิดเป็นระบบ (System thinking) ควรให้กรอบแนวคิด 1 คิดเชิงกลยุทธ์ 2 คิดทันการณ์ต่อการเปลี่ยนแปลง 3 เล็งเห็นโอกาส ไม่เพียงคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
3.รูปแบบความคิด(Mental models) ผู้บริหารควรเตรียมรูปแบบการสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนแนวความคิดระหว่างกัน อันทำให้คนในองค์กรมีแนวความคิดไปในแนวทางเดียวกัน และนำไปสู่ผลงานที่มีประสิทธิภาพ โดยให้เรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการและองค์กรต้องการ
4.การเรียนรู้เป็นทีม(Team learning) ต้องให้มีส่วนร่วม ไม่มีใครเก่งคนเดียว
5.วิสัยทัศน์ร่วม(Shared vision) จุดมุ่งหมายขององค์กรแห่งการเรียนรู้คือการผลักดันให้บุคคลในองค์กรทุกคนมีข้อสัญญาผูกมัด โดยอาศัยจุดประสงค์ร่วมกันบนพื้นฐานของการเป็นหุ้นส่วนหรือพันธมิตร อยุ่บน core value ร่วมกัน






ท่านควรจะเลือกวิธีสร้างแรงจูงใจแบบใด ในองค์กรของท่าน

ท่านควรจะเลือกวิธีสร้างแรงจูงใจแบบใด ในองค์กรของท่าน ?

จากการศึกษาทฤษฎีการจูงใจพนักงานนั้น ผู้บริหารในองค์กรปัจุบันจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นในวิธีการจูงใจพนักงานซึ่งมีความแตกต่างและหลากหลาย พนักงานแต่ละคนจะมีความต้องการ(Needs)และเป้าหมาย(Objective)นการทำงานแตกต่างกัน การจูงใจพนักงานจำเป็นต้องคำนึงถึงความแตกต่างดังกล่าวของพนักงานด้วย ผู้บริหารองค์กรในปัจจุบันยังควร
คำนึงถึงความแตกต่างกันของวัฒนธรรม(Culture) ของพนักงานและใช้วิธีการจูงใจให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมดังกล่าวเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ ์ในการจูงใจพนักงาน
ซึ่งมักรวมเอาเรื่อง Empowerment and Participation and alternative forms of work arrangements มาใช้ประกอบกัน โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น Reward System หรือ
Executive Compensation.




ควรยกตัวอย่าง
  1. พนักงานที่มี Needs อะไร และใช้ ทฤษฎีการจูงใจไหนมาตอบ
  2. พนักงานที่มี Objective อะไร และใช้ ทฤษฎีการจูงใจไหนมาตอบ
  3. พนักงานที่มี Culture อะไรและใช้ทฤษฎีการจูงใจไหนมาตอบ

ทฤษฎีการจูงใจ ถูกเขียนขึ้นมาจาก 3 มุมมอง จำง่าย ๆ นะครับ

  1. มองที่เนื่อหา(content) คือจะมองว่า   ปัจจัยอะไรทำให้เกิดการจูงใจ
++ Maslow’s   Needs Hierarchy
++ ERG  Needs แต่อาจเกิดพร้อมกัน หลาย ๆ ระดับ
++ Herzberg;s two-Factor   satisfaction,dissatifaction
  1. มองที่กระบวนการ (Process)  การจูงใจเกิดได้อย่างไร
++ Expectancy  คาดหวัง
++ Equity  เสมอภาค
++ Goal Setting  เป้าหมาย
  1. มองที่ การเสริงแรง(Reinforcement)  ทำอย่างไรให้การจูงใจนั้นอยู่ถาวร
โดยมีพื้นฐานมาจากแนวคิดว่า   พฤติกรรมใดที่ทำแล้วได้รางวัล คน ๆ นั้นก็จะทำพฤติกรรมนั้นอีก ในทางตรงข้ามพฤติกรรมใดที่ทำแล้วให้ผลลบ คน ๆ นั้นก็จะไม่ทำอีก หรือทำน้อยลง






วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

การพัฒนาคนแนวใหม่ : Inside Out Development Approach

 ในอดีตที่ผ่านมาองค์กรมักจะมุ่งเน้นการพัฒนาคนที่เปลือกนอกคือมุ่งเน้นที่การพัฒนา "องค์ความรู้ (Knowledge)" “ทักษะ(Skill)” หรือ พฤติกรรม (Behavior)” มากกว่าการพัฒนาที่แก่นแท้ของคนซึ่งหมายถึง ทัศนคติ(Attitude)” “แรงจูงใจ(Motivation)” หรือ อุปนิสัย(Trait)” จึงทำให้การพัฒนาบุคลากรไม่ได้ผลเท่าที่ควร

          การพัฒนาคนในหลายองค์กรมักจะมุ่งเน้นผลการพัฒนาระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ดังนั้น รูปแบบการพัฒนาและฝึกอบรมจึงออกมาในลักษณะของการพัฒนาความรู้ ทักษะ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอกเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถเห็นผลได้ทันที เช่น การฝึกอบรมเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ต อาจจะใช้เวลาเพียงวันเดียว จากคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตไม่เป็นก็สามารถใช้เป็นได้ แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือ เราไม่ค่อยพัฒนาคนให้ยอมรับว่าอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์กับชีวิตอย่างไร บางคนถึงแม้จะใช้อินเตอร์เน็ตเป็น แต่รู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์มากนัก เลยไม่ได้ใช้ ดังนั้น ทักษะที่เรียนรู้ไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร

          เราจะเห็นการพัฒนาคนจากเปลือกนอกได้ชัดเจนมากจากมินิมาร์ท ปั๊มน้ำมันหรือห้างสรรพสินค้า ที่พนักงานของเขาทักทายหรือขอบคุณเราด้วยคำว่า สวัสดีหรือ ขอบคุณแต่เราสามารถสัมผัสได้ว่าคำพูดหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้น ไม่ใช่มาจากส่วนลึกของจิตใจ แต่เป็นเพียงพฤติกรรมที่ถูกฝึกมาและถูกบังคับให้ทำตามเงื่อนไขมากกว่า เช่น ถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งให้พูดคำว่า สวัสดีถ้าพนักงานคนนั้นถูกพัฒนามาจากภายในแล้ว ไม่ว่าเขาจะทำงานหรืออยู่ในสังคมภายนอก การทักทายหรือการขอบคุณนั้นจะต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลาและคำพูดนั้นจะต้องออก มาจากภายใน

          แนวโน้มการพัฒนาคนในอนาคตผมมีความเชื่อมั่นว่าจะต้องเปลี่ยนจากการพัฒนาความ รู้ ทักษะ และพฤติกรรม ไปสู่การพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้เอง พัฒนาทักษะด้วยตัวเอง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามทัศนคติที่เปลี่ยนไป องค์กรทุกองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเจาะเข้าไปพัฒนาที่จิตใจของคนมาก ขึ้น องค์กรต้องหวังผลการพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะถ้าเราประสบความสำเร็จในการพัฒนาภายในจิตใจของคนแล้ว การพัฒนาสิ่งที่อยู่ภายนอกไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

          แนวทางหนึ่งที่กำลังมาแรงแซงทางโค้งในปัจจุบันคือ การพัฒนาตนเอง (Self-Development) เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นการพัฒนาจิตใจเพื่อสร้างแรงจูงใจในชีวิตของคนก่อนเป็น อันดับแรก ซึ่งคนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในการพัฒนาแบบนี้คือ ตัวพนักงาน แต่อย่าลืมว่าถ้าพนักงานมีแรงจูงใจในชีวิตแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์ในลำดับต่อมาก็หนีไม่พ้นตัวองค์กร

          การพัฒนาแนวทางนี้จะเน้นการค้นหาตัวเอง การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง การกำหนดเป้าหมายในชีวิต การกำหนดแนวทางไปสู่เป้าหมาย รวมถึงการจัดทำแผนการดำเนินชีวิตที่เป็นรูปธรรม พูดง่ายๆคือ สอนคนให้บริหารธุรกิจชีวิตของตัวเองก่อนนั่นเอง ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าถ้าคนมีแผนการบริหารชีวิตที่ดีแล้วคนเหล่านั้นย่อม สามารถเชื่อมโยงเป้าหมายชีวิตเข้าสู่เป้าหมายในการทำงานขององค์กรได้ไม่ยาก นัก นอกจากนี้ ถ้าคนสามารถบริหารชีวิตตัวเองได้ การบริหารคนบริหารงานก็ไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป

          การพัฒนาแนวทางใหม่นี้ องค์กรจำเป็นต้องเปิดใจกว้างให้มากขึ้น อย่าคิดว่าต้องพัฒนาฝึกอบรมคนเฉพาะหลักสูตรที่เป็นประโยชน์กับองค์กรเพียง อย่างเดียว ลองคิดทบทวนดูให้ดีนะครับว่าอดีตที่ผ่านมาเราคิดแบบนี้ แล้วการพัฒนามันได้ผลหรือไม่ ถ้าตอบว่าไม่ ทำไมไม่ลองพัฒนาในแนวทางใหม่ดูบ้างละครับ

          การที่องค์กรส่งเสริมให้พนักงานมีการพัฒนาชีวิตตัวเองก่อนนั้น นอกจากจะทำให้คนเกิดแรงจูงใจในการทำงานแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่องค์กรจะได้รับคือ ได้รับรู้ว่าคนแต่ละคนมีเป้าหมายในชีวิตเป็นอย่างไร มีอะไรบ้างที่องค์กรสนับสนุนให้เขาเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ลองพิจารณาดูนะครับว่า ถ้าพนักงานต้องการปิดบังไม่ให้องค์กรรู้ว่าตัวเองมีเป้าหมายชีวิตของตัวเอง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงาน ในขณะเดียวกันองค์กรก็พยายามกีดกันคนที่มีเป้าหมายในชีวิตของตัวเองที่ ชัดเจน เช่น ถ้าองค์กรรู้ว่าคนไหนมีแผนในชีวิตที่จะออกไปทำธุรกิจส่วนตัว ก็มักจะไม่โปรโมทหรือไม่ค่อยส่งไปเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ถ้าเป็นเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าองค์กรเสียหายสองต่อคือ นอกจากจะกีดกันคนที่มีแรงจูงใจในชีวิตแล้ว ในขณะเดียวกันก็เกิดความสูญเปล่าในการพัฒนาคนที่จงรักภักดีกับองค์กรแต่ขาด แรงจูงใจในชีวิต

          องค์กรส่วนใหญ่มักจะมองว่าใครยังไม่มีแผนชีวิต (หรือมีแต่ไม่รู้) ที่จะออกไปจากองค์กร องค์กรมักจะมองว่าคนๆนั้นเป็นทรัพยากรที่มีค่าน่าจะดูแลรักษามากกว่าคนที่มี แผนชีวิตที่ชัดเจน ผมจึงอยากให้คิดทบทวนดูใหม่ว่าการพัฒนาองค์กรไม่ได้อยู่ที่ว่าคนๆนั้นจะอยู่ กับองค์กรนานหรือไม่ แต่อยู่ที่ในระยะเวลาที่เขาอยู่กับองค์กรเขาได้สร้างคุณค่าให้กับองค์กรมาก น้อยเพียงใด เราจะเห็นว่าคนหลายคนที่ออกจากเราไปทำธุรกิจของตัวเอง ถ้ามองย้อนหลังกลับไปจะเห็นว่าคนเหล่านี้ได้ทุ่มเทและสร้างสรรค์ให้กับ องค์กรอย่างคุ้มค่า เผลอๆอาจจะสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้มากกว่าคนที่อยู่นานก็ได้

          ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่าคนที่ทำงานเก่งและทำงานดีในองค์กรนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คนๆนั้นมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน และมีแรงจูงใจในชีวิตที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน(
Internal Drive
) ไม่ใช่แรงจูงใจภายนอก (
External Drive
) ใครก็ตามที่ทำงานเพราะมีแรงจูงใจจากภายนอก คนๆนั้น โอกาสเปลี่ยนแปลงมีมาก เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ชีวิตได้เติมเต็มในสิ่งที่ต้องการแล้ว แรงจูงใจจะลดน้อยลงหรือหายไป แต่คนใดมีแรงจูงใจที่เกิดจากภายในแล้ว นอกจากจะไม่ลดไปตามการเติมเต็มของชีวิตแล้ว มันกลับจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเขาจะตั้งเป้าหมายชีวิตที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น และผมเชื่ออีกว่าความท้าทายในชีวิตอย่างหนึ่งของคนคือ การทำงาน เพราะการทำงานถือเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่งที่เขาต้องการประสบความสำเร็จ

          สรุป การพัฒนาคนแบบ Inside Out Approach จึงเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาคนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาจากภายใน (ทัศนคติ แรงจูงใจ อุปนิสัย) สู่การพัฒนาภายนอก (ความรู้ ทักษะ พฤติกรรม) เพราะถ้าเราสามารถพัฒนาสิ่งที่อยู่ภายในใจของคนได้แล้ว การพัฒนาความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมของคนก็สามารถทำได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน



http://www.hrcenter.co.th/

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

สาระสำคัญของงบการเงิน

สาระสำคัญ การวิเคราะห์งบการเงิน


กรณีศึกษาการตรวจสอบงบดุล

1.       ให้ตรวจสอบงบดุลของกิจการ
            สินทรัพย์     =     หนี้สิน + ทุน
        ว่าสมดุลหรือไม่  เพื่อดูความถูกต้องของงบดุล
2.       ให้ตรวจสอบจำนวนทรัพย์สิน และตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ว่าเป็นของใคร ถ้าเป็นของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บริษัทนั้นๆ ก็ต้องนำรายการสินทรัพย์นั้นออกจากงบดุล
3.       มูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ที่ปรากฏค่าเสื่อม เช่น รถยนต์ อาคาร อุปกรณ์ ในปีล่าสุดเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าจะลดลง ทั้งนี้ต้องตรวจสอบว่ามูลค่าที่ลดลงต้องลดลงเท่ากับค่าเสื่อมราคาที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุนในช่วงหลังนี้ เช่น งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม ปรากฏมูลค่าสินทรัพย์ (รถยนต์ อาคาร อุปกรณ์)  ลดลงจะต้องดูค่าเสื่อมราคาในงบดุลงวด 1 มกราคม 31 ธันวาคม ว่าสินทรัพย์มีมูลค่าลดลงเท่ากับค่าเสื่อมราคาหรือไม่
4.       สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นในรายการใหม่ให้ตรวจสอบกรรมสิทธิ์ตามข้อ 2)  และตรวจสอบหลักฐานการซื้อ เพื่อดูว่าการลงมูลค่าได้ลงถูกต้องตรงกับหลักฐานการซื้อหรือไม่
5.       ให้ตรวจสอบภาระหนี้สินทั้งหมดว่าถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ โดยภาระหนี้สินจะต้องเป็นภาระที่ผูกพันกันเฉพาะในนามของบริษัทเท่านั้น หากเป็นภาระหนี้สินในนามอื่นๆ ก็ให้เอาออกจากงบดุล  การตรวจสอบภาระหนี้สินให้ทำการตรวจสอบสัญญาเงินกู้ ใบวางบิล ใบสั่งซื้อ ตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นต้น
6.       ให้ตรวจสอบทุนจดทะเบียนในหนังสือรับรองของบริษัทที่จดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ แต่อย่าเพิ่งเชื่อในจำนวนเงินที่จดทะเบียนที่แจ้งไว้นั้น
7.       วิธีการที่ดีที่สุดขอให้ตรวจสอบส่วนทุนของกิจการ และเมื่อได้ส่วนทุนแล้ว ขอให้หักทุนจดทะเบียนตามหนังสือรับรองออก ก็จะได้กำไรสะสมหรือขาดทุนสะสม
8.       การตรวจสอบทุนจดทะเบียนที่ถูกต้องตามหนังสือรับรอง ให้ทำการตรวจสอบโดยการประมาณการเอาจากกำไรสะสม หรือขาดทุนสะสม ทั้งนี้เพราะธุรกิจส่วนใหญ่มีทุนจะทะเบียนไม่ตรงกับความเป็นจริง

กรณีศึกษาการตรวจสอบงบกำไรขาดทุน  (ง่ายกว่าการตรวจสอบงบดุล)
1.       การตรวจสอบกำไรเบื้องต้นของกิจการ โดยใช้หลักการที่ว่า ขายได้เท่าไรนำมาเทียบเคียงกับต้นทุนสินค้า โดยไม่ต้องคิดค่าแรง หรือค่าโสหุ้ยอื่นๆ ตรงนี้เรียกว่า กำไรเบื้องต้นต่อยอดขาย
2.       ตรวจสอบกำไรสุทธิต่อยอดขาย โดยใช้เกณฑ์กำไรสุทธิ ในธุรกิจปกติมีเกณฑ์ดังนี้
2.1    ธุรกิจที่ให้เครดิตลูกหนี้การค้าสั้น  ได้แก่ ธุรกิจซื้อมาขายไป  ซึ่งจะให้เครดิตลูกค้าประมาณ 30 วัน และได้รับกำไรสุทธิประมาณร้อยละ 2-10 ของยอดขาย
2.2    ธุรกิจที่ให้เครดิตลูกหนี้การค้านาน  ได้แก่ ธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ จะให้เครดิตลูกค้า 60-90 วัน  และได้รับกำไรสุทธิประมาณร้อยละ 15-35 ของยอดขาย
        ข้อพึงระวังในการตรวจสอบงบกำไรขาดทุน
1)       งบกำไรขาดทุนสะท้อนภาพเท็จในธุรกิจ โดยเฉพาะงบกำไรขาดทุนที่ผ่านการตรวจสอบบัญชีโดยผู้ตรวจบัญชีรับอนุญาติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบว่างบกำไรขาดทุนที่ปรากฏมีรายการที่เสียภาษีถูกต้อง รายการค่าใช้จ่ายนั้นเกินความจำเป็นของธุรกิจหรือไม่
2)       หากมีคนชวนลงทุนและนำเสนอประมาณการกำไรขาดทุนในโครงการซึ่งปรากฏว่าอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายสูงจนผิดปกติ ขอให้ตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารตรงประเด็นเงินเดือนพนักงานและผู้บริหารว่า หากเกิดโครงการขึ้นจริง จำนวนเงินเดือนตามประมาณการจะหาคนงานปฏิบัติงานได้จริงหรือไม่
3)       จากข้อ 2)  หากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารถูกตรวจสอบและไม่พบรายการผิดปกติ ขอให้ตรวจสอบรายการของต้นทุนสินค้าขาย เพราะรายการนี้มีความเชื่อมโยงกับรายการสินค้าคงเหลือในงบดุลและสองรายการนี้มีความสัมพันธ์กัน โดยสามารถอธิบายธรรมชาติของระบบการผลิตในโรงงานได้ว่า ใช้ระยะเวลาเท่าไรในการผลิต ซึ่งเกี่ยวพันกับอัตราส่วนทางการเงินที่ว่า อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover)
4)       การตรวจสอบงบกำไรขาดทุนในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกัน ดังนั้นหากปรากฏว่ากำไรสุทธิติดลบ อย่าเพิ่งตกใจ จะต้องตรวจสอบและหาสาเหตุแห่งการขาดทุนให้ได้ และต้องพิจารณางบดุล ณ ขณะนั้นประกอบกันด้วย และการดูขอให้ดูส่วนทุนตรงกำไรสะสมหรือขาดทุนสะสม เพื่อจะได้รู้ถึงอดีตตลอดจนความเป็นมาและความเป็นไปของกิจการทั้งหมด เพื่อนำข้อมูลมาตัดสินใจดูว่าธุรกิจนั้นมีปัญหาอยู่จริงหรือไม่


อัตราส่วนทางการเงินที่หยิบใช้ได้ทันที

     ปัญหาลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ เป็นปัญหาที่นำไปสู่การแก้ไขและจัดการธุรกิจ  อัตราส่วนทางการเงินอีกหลายตัว จึงมีความสำคัญขึ้นมา
     ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือปรากฏในงบดุลด้านสินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งโดยความหมายของทั้งสองรายการ คือ รายการที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี  และรายการดังกล่าวโดยเฉพาะลูกหนี้การค้าน่าจะเป็นรายการที่มีเสถียรภาพ หรือมีความแม่นยำมากที่สุด เพราะเราได้ขายสินค้าให้กับลูกค้าไปแล้ว ดังนั้นสิทธิของเราคือการได้รับชำระหนี้  แต่ในส่วนของสินค้าคงเหลือ ยังอาจมีปัญหาอยู่ตรงที่สินค้าคงเหลืออาจขายไม่ได้ เนื่องจากการล้าสมัย ดังนั้นเมื่อลูกหนี้และสินค้าคงเหลือเกิดปัญหา จึงกระทบถึงกิจการและเกิดผลโยงใยไปสู่การปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาในกิจการมากมาย
     อัตราส่วนทางการเงินคือเครื่องมือในการตรวจสอบความไม่ดีและดีของกิจการ



     อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ชั่วชีวิต
1.       อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (Current Ratio)  
                                    Current Ratio     =     สินทรัพย์หมุนเวียน
                                                                        หนี้สินหมุนเวียน
        กิจการจะปรากฏสภาพคล่องทางการเงินก็ต่อเมื่อ กิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนสูงกว่าหนี้สินหมุนเวียน จึงส่งผลให้ Current Ratio นี้มากกว่า 1  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากิจการสามารถแปลงสินทรัพย์หมุนเวียนในทุกรายการ เช่น ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ ฯลฯ ไปเป็นเงินสดเพื่อนำมาชำระหนี้ทั้งหมดที่ปรากฏในรายการหนี้สินหมุนเวียน
     ข้อพึงระวังในการตรวจสอบ Current Ratio  ต้องให้ความสนใจมากเป็นพิเศษตรงรายการของสินทรัพย์หมุนเวียน  ซึ่งมีรายการหลักๆ 3 รายการ คือ  เงินสดและเงินฝากธนาคาร  สินค้าคงเหลือ  ลูกหนี้การค้า  รายการที่นอกเหนือคือรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางธุรกิจปกติ เช่น ลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ ซึ่งเป็นการนำเงินสดไปปล่อยกู้ให้กับกรรมการ โดยที่กรรมการนำเงินกู้ไปใช้ในกิจการส่วนตัว อาจกล่าวได้ว่าเป็นการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินอย่างถูกกฏหมาย แต่จะต้องมีการทำสัญญาเงินกู้ยืมเงิน (ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุ 1 ปี แต่สามารถต่อสัญญาใหม่ได้) 
     อีกรายการหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือ รายการค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ซึ่งเป็นรายการหนึ่งในสินทรัพย์หมุนเวียน หากมีการจ่ายเพื่อการให้ได้มาซึ่งเครื่องจักรหรืออุปกรณ์โดยเป็นการจ่ายออกไปเพียงบางส่วน ขอให้ระลึกไว้ว่า ยังจะต้องมีเงินอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องชำระให้กับผู้ขายเครื่องจักรและอุปกรณ์นั้น  ดังนั้นการเกิดรายการค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจะส่งผลให้เงินสดของกิจการในอนาคตอันใกล้ลดลง (สินทรัพย์หมุนเวียนลดลง)  เมื่อนำเงินสดจ่ายค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ รายการเงินสดที่ลดลงรวมกับรายการค่าใช้จ่ายล่วงหน้า จะถูกเปลี่ยนไปเป็นรายการสินทรัพย์ถาวรเต็มจำนวน ทำให้ Current Ratio ลดลงทันที

2.       อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงินอย่างถึงแก่น (Quick Ratio)
                    Quick Ratio     =     สินทรัพย์หมุนเวียน สินค้าคงเหลือ

                                                               หนี้สินหมุนเวียน

        หมายความว่า สินค้าคงเหลือเป็นรายการที่ไม่ค่อยจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เพราะการลงทุนในสินค้าคงเหลือมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากสินค้าอาจล้าสมัย และทำให้เสื่อมค่าได้อย่างรวดเร็ว หรือเลวร้ายกว่านั้นอาจต้องตัดเป็นการสูญเปล่าในเงินลงทุนก็ได้ ดังนั้นเมื่อสินค้าคงเหลือไม่มีความคล่องตัวหรือขาดศักยภาพในการแปลงเป็นเงินสด จึงสมควรเอาออกจากรายการของสินทรัพย์หมุนเวียนเพื่อให้สินทรัพย์หมุนเวียนเหลือแต่รายการที่มีคุณสมบัติและศักยภาพในการแปลงเป็นเงินสดได้จริงๆ
        อัตราส่วน Quick Ratio  ที่ดีควรมีค่ามากกว่า 1  จึงจะสะท้อนศักยภาพในการชำระหนี้ได้ดี



3.       อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า  (Account Receivable Turnover)
            Account Receivable Turnover  จะหมุนที่รอบถี่หรือรอบต่ำ  การหมุนรอบถี่หมายความว่า การให้เครดิตทางการค้าที่สั้นมาก  ถ้าการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้ารอบต่ำ คือการให้เครดิตนาน ดังนั้นกว่าจะได้รับชำระเงินค่าขายจึงต้องรอและลุ้นไปเรื่อยๆ  การให้เครดิตทางการค้าสามารถขจัดคู่แข่งที่มีฐานเงินทุนต่ำได้ เพราะการให้เครดิตยาวนานขึ้น กิจการต้องสำรองวัตถุดิบและเงินเพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มสูงขึ้น หากคู่แข่งมีเงินลงทุนต่ำก็จะต้องปิดกิจการไปด้วยเหตุการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ในขณะเดียวกันความเสี่ยงของท่านก็สูงขึ้นจากการที่ลูกหนี้การค้าอาจมีปัญหาขึ้นได้
        เทคนิคการคาดการณ์อัตราการหมุนของลูกหนี้การค้า
1)       ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ากิจการนั้นเป็นกิจการที่คู่แข่งมาหรือน้อยเช่นไร และขณะเดียวกันสินค้าของกิจการเป็นสินค้าในความต้องการของตลาดหรือไม่ และลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือใคร
2)       การคาดการณ์จนได้คำตอบในใจแล้ว สามารถนำไปตรวจสอบงบการเงินของกิจการว่ามีทิศทางของการบริหารธุรกิจสอดคล้องตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่อย่างไร
   
                สูตรการคำนวณอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้าและการตีความหมาย

                               Account Receivable Turnover     =     ยอดขายเชื่อ
                                                                                           ลูกหนี้การค้า
        ยอดขายที่ปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุน บางงบจะแยกรายการขายเงินสดและขายเงินเชื่อออกจากกัน ให้ใช้ยอดขายเชื่อ  แต่หากกรณีงบกำไรขาดทุนไม่มีการแยกคือแสดงยอดขายรวม ก็อนุโลมให้ใช้ยอดขายทั้งหมด เพราะปัจจุบันธุรกิจเกือบทั้งหมดต้องให้เครดิตลูกค้า
        ในส่วนของลูกหนี้การค้าจะปรากฏเป็นรายการในงบดุลด้านสินทรัพย์หมุนเวียน
        การเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าได้จำนวนมากรอบต่อปี แสดงให้เห็นว่ากิจการมีการปล่อยเครดิตการค้าสั้น และกิจการมีคุณภาพของลูกหนี้การค้าที่ดี 

4.       ระยะเวลาเก็บหนี้โดยเฉลี่ย  (Days Receive)
มีความสัมพันธ์กับอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า คือ อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า บ่งบอกว่า กิจการมีลูกหนี้การค้าที่ถูกแปลงเป็นเงินสดกี่ครั้งในรอบ 1 ปี  ดังนั้นหากเราเอาระยะเวลาตลอด 1 ปีตั้ง และหารด้วยจำนวนครั้ง (รอบ) ของลูกหนี้การค้าที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ เราก็จะได้ระยะเวลาการเก็บเงินจากลูกหนี้ หรือเราจะทราบเวลาการให้เครดิตของกิจการ

                         Days Receive     =                      365  วัน
                                                          Account Receivable Turnover

5.       อัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover)
        สินค้าคงคลังเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงรายการเป็นเงินและลูกหนี้การค้า อันเนื่องมาจากกิจการนำสินค้าคงเหลือออกขายโดยการขายเงินสด ก็จะปรากฏเป็นเงินเพิ่มเข้ามาในกิจการ  และการขายเงินเชื่อก็จะปรากฏเป็นลูกหนี้การค้าเพิ่มเข้ามาในกิจการ  โดยการเพิ่มขึ้นของเงินสดและลูกหนี้การค้ารวมกันจะสูงกว่ารายการของสินค้าคงเหลือที่ขายไป เพราะสินค้าคงเหลือถูกบันทึกรายการในงบดุลด้วยราคาต้นทุน ส่วนการขายที่ปรากฏยอดรายได้ในงบกำไรขาดทุนเป็นการขายที่มีส่วนต่าง

                          Inventory Turnover     =     ต้นทุนสินค้าขาย

                                                                       สินค้าคงคลัง

        โดยที่รายการต้นทุนสินค้าขายปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุน ส่วนสินค้าคงคลังปรากฏอยู่ในงบดุล
        อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังใช้ทำนายรูปแบบของการผลิต
1)       Inventory Turnover  รอบสูงมีความหมายว่า กิจการทำการผลิตอย่างคึกคัก
2)       ถ้าตลาดดี มีคำสั่งซื้อมาก ก็จะปรากฏรอบสูง
3)       ถ้าหมุนรอบต่ำ อธิบายได้ว่า สินค้าอาจอยู่ในตลาดที่ชะลอตัว ทำให้กิจการกำลังเข้าสู่ปัญหาทางการเงิน เพราะเงินลงทุนของกิจการจมอยู่ในรูปของสินค้าคงเหลือ
4)       อีกกรณีหนึ่ง มีความเป็นไปได้ว่าเกิดการผลิตสินค้าคงเหลือตามนโยบาย และยังไม่ได้จำหน่ายออกไปในรอบระยะเวลาบัญชีของปีนั้น เนื่องด้วยสินค้าคงเหลือที่ปรากฏเป็นสินค้าใหม่ต้องรอการทำตลาดในปีต่อไป

               ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการหมุนของลูกหนี้การค้าและอัตราการหมุนของสินค้าคงคลัง
               กิจการมีลูกหนี้การค้าจำนวนมาก บ่งบอกได้ถึงภาวะตลาดที่สดใส หรือบอกได้ถึงปัญหาการเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าอาจเกิดขึ้น ดังนั้นต้องดูที่อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า เพื่อยืนยันและตรวจสอบไปถึงนโยบายที่กิจการปล่อยเครดิตทางการค้า  ซึ่งจะตอบได้ว่ากิจการมีลูกหนี้การค้าอยู่ในภาวะปกติหรือไม่
               รายการของสินค้าคงเหลือ ถ้ามีมากเกินไป ต้องดูอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังประกอบด้วย
            กรณีศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้าและอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง
1)       หากอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า หมุนรอบสูง สะท้อนให้เห็นว่ากิจการอยู่ในภาวะการตลาดที่ดี และกิจการเก็บหนี้จากการปล่อยเครดิตได้ด้วย  เราจะพบว่าอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังต้องหมุนรอบสูงด้วย
2)       ความสัมพันธ์ระหว่าง  Account Receivable Turnover และ  Inventory Turnover ไปในทิศทางเดียวกัน
3)       หากความสัมพันธ์เกิดสวนทางกัน แสดงให้เห็นว่า
3.1)    กรณี Account Receivable Turnover  หมุนรอบสูง  แต่  Inventory Turnover  หมุนรอบต่ำ แสดงว่า กิจการขายสินค้าได้ดี และตามเก็บหนี้ได้  แต่สินค้าคงเหลือที่ปรากฏในงบดุลอาจมีสินค้าเก่าค้างสต๊อก หรือ สินค้าคงเหลือในงบดุลมีสินค้าใหม่ปะปนมา ซึ่งสินค้าใหม่นั้นถูกผลิตก่อนสิ้นงวดแต่จะทำตลาดในงวดบัญชีถัดไป จึงทำให้ Inventory Turnover ต่ำ
3.2)    กรณีที่  Account Receivable Turnover  หมุนรอบต่ำ และ  Inventory Turnover หมุนรอบต่ำ อธิบายได้ว่า กิจการเร่งทำการผลิตเพื่อเพิ่มสต๊อกสินค้าไว้เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุว่าภาวะตลาดไม่สดใส แต่กิจการคาดว่าในอนาคตสินค้าที่ผลิตสะสมไว้จะขายได้ เพราะกิจการอุตสาหกรรมหากไม่ทำการผลิตก็จะขาดทุนค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารทุกเดือน  ซึ่งที่จริงแล้วมีความเสี่ยงมาก
3.3)    กรณีที่  Account Receivable Turnover  หมุนรอบต่ำ  แต่  Inventory Turnover  หมุนรอบสูง  อธิบายได้คล้ายๆ กับกรณี 3.2)

6.       ระยะเวลาการผลิตโดยเฉลี่ย (Inventory Days)
            ต้องหามาจาก  Inventory Turnover  ก่อน 

                                            Inventory Days     =             365  วัน
                                                                                Inventory Turnover
       
        สามารถใช้ทำนายการใช้ทุนของกิจการ ว่าการลงทุนของกิจการนั้นเน้นการใช้แรงงานหรือเน้นการใช้เครื่องจักร  ถ้ามีค่าต่ำแสดงว่ามีการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยจึงใช้เวลาการผลิตไม่สูงมากนัก

7.       อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน  (Debts to Equity Ratio)
เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นว่ากิจการมีสถานะความมั่นคงมากน้อยขนาดไหน พิจารณาจากสมการบัญชี

                            สินทรัพย์ (Assets)     =     หนี้สิน (Depts)  +   ทุน ( Equity)

การเกิดของสินทรัพย์ต้องมาจากการก่อหนี้หรือใส่ทุนเพิ่ม  อัตราส่วนนี้ยิ่งต่ำยิ่งดี คือการใช้ทุนในการสร้างสินทรัพย์ถาวรมาก  โดยเฉพาะธนาคารจะชอบอัตราส่วนนี้ต่ำๆ เพราะปลอดภัยในการให้กู้ เนื่องจากแสดงว่ากิจการมีสินทรัพย์ที่ปลอดภาระอีกมาก  อีกเหตุผลหนึ่งคือ การที่กิจการใส่ทุนในการดำเนินกิจการมากๆ แสดงว่า กิจการให้ความรักและใส่ใจกิจการ ดังนั้นเมื่อลงทุนไปเยอะคงจะต้องต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคจนสำเร็จให้ได้  การให้กู้ของสถาบันการเงินจึงเกี่ยวข้องกับอัตราส่วนนี้




8.       อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย  (Interest Coverage Ratio)
ใช้อธิบายความสามารถในการคืนหนี้ของกิจการ มีสูตรดังนี้
          Interest Coverage Ratio     =     กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษี

                                                                         ดอกเบี้ยจ่าย


     ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่ามาก หมายถึง กิจการมีผลประกอบการเป็นกำไรในปริมาณที่สูง และมีเงินสดเหลือพอนำมาชำระดอกเบี้ยจ่ายได้  อย่างไรก็ตาม หากิจการมีอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้าต่ำ ก็อาจอธิบายได้ว่า รายได้จากการขายสินค้าของกิจการจมอยู่ในรายการลูกหนี้การค้า เพราะยอดขายที่ปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุนเป็นยอดขายที่รวมการขายเชื่อ  ดังนั้นแม้ว่าอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้จะสูง ก็ไม่ได้หมายความว่ากิจการมีศักยภาพในการชำระดอกเบี้ยคืน
     ดังนั้น จึงต้องดูอัตราส่วนนี้ควบคู่ไปกับอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ด้วย หากไม่เป็นไปตามนโยบายของกิจการ อัตราส่วนนี้ก็ไร้ความหมาย
     วิธีปฏิบัติที่นิยมใช้กันและตอบได้ว่ากิจการมีความสามารถในการชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย โดยการจัดทำงบประมาณกระแสเงินสดโครงการ (Cash Flow Projection)  ซึ่งแม้กิจการจะประสบปัญหา ณ ปัจจุบัน แต่กิจการอาจมีเงินสดสะสมไว้มากพอจนไม่มีปัญหาการคืนหนี้ก็ได้

9.       อัตราส่วนกำไรเบื้องต้นต่อยอดขาย (Gross Profit Margin)

                                 Gross Profit Margin     =     กำไรเบื้องต้น

                                                                                ยอดขาย


        นำข้อมูลมาจากงบกำไรขาดทุน  กำไรเบื้องต้นคือรายการของยอดขายหักออกด้วยวัตถุดิบที่ใช้ไป (ต้นทุนสินค้าขาย)  คือ ขายสินค้าออกไปเท่าไรก็ให้คิดต้นทุนสินค้าเฉพาะที่มีการขายออกไป ห้ามนับรวมสต๊อกสินค้าคงเหลือที่ยังไม่ได้ขาย
     ธรรมชาติของอัตราส่วนกำไรเบื้องต้นต่อยอดขาย
1)       ธุรกิจที่เน้นการใช้แรงงาน จะปรากฏกำไรเบื้องต้นในอัตราสูง โดยธุรกิจประเภทนี้จะมีต้นทุนการสินค้าขายต่ำ และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารสูง กำไรจึงไม่มากอย่างที่คิด
2)       ธุรกิจที่เน้นการใช้ทุน  จะปรากฏกำไรเบื้องต้นในอัตราที่ไม่สูงมากนัก เพราะต้นทุนสินค้าขายที่สูง ในขณะทิ่ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารต่ำ ทั้งนี้เพราะระบบการผลิตใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ใช้แรงงานน้อย
3)       ธุรกิจทั้งประเภทที่เน้นการใช้แรงงานและธุรกิจที่เน้นการใช้ทุน  ทั้งสองกรณีนำไปสู่การเกิดขึ้นของกำไรสุทธิที่ไม่แตกต่างกันมากนัก
4)       อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เน้นการใช้ทุนมีความได้เปรียบในแง่ของการพัฒนาและวางระบบการจัดการ ดังนั้นจึงดูจะมีเสถียรภาพในการดำเนินธุรกิจมากกกว่า

10.    กำไรสุทธิต่อยอดขาย  (Net Profit Margin)

                          Net Profit Margin     =     กำไรสุทธิ  x   100
                                                                        ยอดขาย

        ธรรมชาติของกำไรสุทธิต่อยอดขาย  จะคล้ายกับเรื่องกำไรเบื้องต้นต่อยอดขาย


การทำนายธรรมชาติของธุรกิจด้วยอัตราส่วนทางการเงิน
1.       อัตราส่วนสภาพคล่องบอกได้ว่ากิจการประสบความสำเร็จหรือไม่  และทำนายสภาพคล่องทางการเงิน
อัตราส่วนในที่นี้คือ อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (Current Ratio) และอัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงินอย่างถึงแก่น (Quick Ratio)  อัตราส่วนทั้งสองหากมีผลลัพธ์ที่สูง เช่น 2:1 , 3:1 , 4:1  หรือในทิศทางที่สูงขึ้นแสดงว่ากิจการประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง  หากกิจการอยู่ในภาวะที่กำลังประสบปัญหา และต้องการเงินทุนสำรองเพิ่ม อัตราส่วนทางการเงินทั้งสองจะต่ำกว่า 1  หรือเท่ากับหรือมากกว่านิดหน่อย ก็บอกได้แล้วว่า กิจการกำลังประสบปัญหาเงินทุนหมุนเวียน
2.       อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Account Receivable Turnover) บ่งบอกประเภทของตลาด  ประเภทของตลาดสินค้า เช่น ตลาดผูกขาด ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ตลาดผู้ขายน้อยราย และตลาดแข่งขันสมบูรณ์  โดยแต่ละตลาดจะให้เครดิตทางการค้าไม่เหมือนกัน
3.       ระยะเวลาเก็บหนี้โดยเฉลี่ย (Days Receive)  ทำนายหนี้มีปัญหาในกิจการ
ผลลัพธ์ที่ปรากฏต้องนำมาเทียบเคียงกับนโยบายเครดิตของกิจการ 
4.       อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover)  ใช้ทำนายลักษณะของการลงทุนและทำนายภาวะตลาดได้ด้วย    
บ่งบอกได้ถึงการที่กิจการเป็นกิจการที่เน้นปัจจัยแรงงาน หรือเน้นปัจจัยทุน
5.       Inventory Days  กับการทำนายระยะเวลาการผลิตสินค้าจนประทั่งนำออกขาย           
6.       อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน (Depts to Equity Ratio)  ทำนายความมั่งคงของกิจการและทำนายวิธีการจัดโครงสร้างเงินลงทุนของกิจการ
1)       บอกให้รู้ว่าสินทรัพย์สร้างขึ้นมาจากรายการใดเป็นสำคัญ (มาจากหนี้สินหรือส่วนทุน)
2)       บอกให้รู้ว่ากิจการมีโครงสร้างของการลงทุนที่เหมาะสมหรือไม่ โดยหากกิจการมีหนี้สินส่วนทุนอยู่ในอัตราสูง ก็แสดงว่า กิจการก่อหนี้เพื่อสร้างรายการของสินทรัพย์มากกว่าใช้เงินลงทุนของตัวเอง
3)       อัตราส่วนนี้ที่สูงๆ สถาบันการเงินมักไม่ยินดีปล่อยเงินกู้ เพราะกิจการมีความเสี่ยงต่อการชำระหนี้คืนธนาคาร เพราะสินทรัพย์ส่วนใหญ่ติดภาระ (สร้างขึ้นจากหนี้สิน)
4)       อัตราส่วนนี้ที่สูงๆ บ่งบอกให้กิจการรู้ว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประกาศเพิ่มทุน เพื่อลดอัตราส่วนนี้ลง เพราะกิจการจะขาดโอกาสในการขอสินเชื่อเพื่อการขยายธุรกิจ และขาดศักยภาพในการฝ่าวิกฤตทางการเงินในยามที่ธุรกิจเกิดปัญหา
5)       อัตราส่วนที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 2:1  และสำหรับกิจการที่เริ่มต้นไม่ควรเกิน  1.5:1 
6)       อัตราส่วนนี้บ่งบอกนิสัยของเจ้าของธุรกิจว่าเป็นเช่นไร 
                                                                                                                                   
สรุปขั้นตอนของการทำนายกิจการ
1)       ให้พิจารณา  Current Ratio  และ  Quick Ratio  ว่ามีอัตราเกินกว่า 1 หรือไม่ ถ้าเกินกว่า 1 มากๆ กิจการนี้มีสภาพคล่องทางการเงินใช้ได้ในเบื้องต้น
2)       ทำการตรวจสอบรายการทุกรายการในสินทรัพย์หมุนเวียน โดยรายการใดพบว่าเป็นรายการแปลงเป็นเงินสดได้ยาก และเป็นรายการที่ถูกนำมาปรับปรุงบัญชีให้เกิดความถูกต้องทางกฎหมาย ขอให้นำรายการเหล่านั้นออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน
3)       เมื่อทำตามข้อ 2) แล้ว ให้หา Current Ratio  และ  Quick Ratio  อีกครั้งหนึ่ง หากผลลัพธ์ออกมาเกินหนึ่ง แสดงว่ากิจการใช้ได้ในเรื่องสภาพคล่องในเชิงมหภาค
4)       เป็นขั้นตอนการยืนยันว่า กิจการมีสภาพคล่องในเชิงจุลภาคจริงหรือไม่  โดยดูจากอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Account Receivable Turnover)  หากอัตราส่วนนี้หมุนรอบสูง แสดงให้เห็นว่าสภาพคล่องของกิจการมีมาก เพราะว่ารายการลูกหนี้การค้าถือเป็นรายการหลักในการที่กิจการจะแปลงรายการมาเป็นเงินสด
5)       การยืนยันสภาพคล่องทางการเงินด้วย Account Receivable Turnover ยังไม่เพียงพอ ยังจำเป็นที่จะต้องยืนยันสภาพคล่องทางการเงินอีกชั้นหนึ่งด้วย อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง  เพื่อดูว่าสินค้าคงเหลือนั้นมีสินค้าบางส่วนหรือส่วนใหญ่ที่อาจเป็นสินค้าเก่า หากอัตราส่วนนี้หมุนรอบสูง และให้ผลลัพธ์ตรงตามนโยบายของกิจการ แสดงว่ากิจการมีสภาพคล่องทางการเงินค่อนข้างแน่นอน
6)       หลังจากตรวจสอบสภาพคล่องแล้ว ต้องทำการตรวจสอบโครงสร้างการลงทุนของกิจการว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยทำการตรวจสอบหนี้สินส่วนทุน (Depts to Equity Ratio)  ว่าเป็นเท่าไร ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่าสูงแสดงว่ากิจการมีการก่อหนี้ระยะยาวเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นอันตราย ดังนั้นจึงควรปรับอัตราส่วนนี้ให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2:1
7)       ให้ทำการพิจารณาการเติบโตของกิจการ โดยดูจากอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย (Net Profit Margin)  ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่าสูงแสดงว่า กิจการจะมีการเจริญเติบโตของสินทรัพย์สูงตามไปด้วย เพราะกำไรสุทธิที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุน จะถูกโยกไปสู่กำไรสะสมในงบดุล ทำให้สินทรัพย์ตัวเงินสดและลูกหนี้การค่าสูงขึ้นเท่ากับกำไรสุทธิที่สูงขึ้น

สรุปสูตรอัตราส่วนทางการเงิน
1)       อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (Current Ratio)
                      Current Ratio     =     สินทรัพย์หมุนเวียน
                                                         หนี้สินหมุนเวียน
                       Quick Ratio      =     สินทรัพย์หมุนเวียน  - สินค้าคงคลัง

                                                                    หนี้สินหมุนเวียน

2)       อัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้  (Account Receivable Turnover)
                       Account Receivable Turnover     =     ยอดขายเชื่อ

                                                                                   ลูกหนี้การค้า

                       Days Receive     =                          365
                                                           Account Receivable Turnover
3)       อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคลัง (Inventory Turnover)
                        Inventory Turnover     =     ต้นทุนสินค้าขาย

                                                                     สินค้าคงคลัง

                        Inventory Days     =                 365
                                                              Inventory Turnover
4)       อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Depts to Equity Ratio)
                         Depts to Equity Ratio     =     หนี้สิน

                                                                          ทุน

5)       อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio)
                         Interest Coverage Ratio     =     กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงิน
                                                                                           ดอกเบี้ยจ่าย
6)       อัตราส่วนกำไรเบื้องต้นต่อยอดขาย (Gross Profit Margin)
                         Gross Profit Margin     =     กำไรเบื้องต้น

                                                                       ยอดขาย

7)       อัตราส่วนกำไรลุทธิต่อยอดขาย (Net Profit Margin)
                          Net Profit Margin     =     กำไรสุทธิ
                                                                  ยอดขาย