วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

“ผี” ก็เป็น “นักเศรษฐศาสตร์”


เนื่องจากเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วย การตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล” (Rational Decision) นักเศรษฐศาสตร์ถูกสอนให้ตัดสินใจเลีอกในสิ่งที่จะได้ ผลได้หรือ ผลประโยชน์” (Benefits) มากกว่า ผลเสีย” (Cost) ที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น ดังนั้นถ้าเราเอาแนวคิดของการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลของนักเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรม การหลอกขอผีเราก็จะเข้าใจว่าจริงๆ แล้ว ผีก็เป็นนักเศรษฐศาสตร์ประเภทหนึ่ง

การวิเคราะห์นี้ เกิดขึ้นภายใต้สมมติฐานที่ว่าว่า ผีมีตัวตนอยู่จริงในโลกนี้” (ซึ่งจริงหรือไม่จริงยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัด) โดยกำหนดให้การเลือกที่จะหลอกของผีมีวัตถุประสงค์ที่ได้รับผลได้ (Benefits) อยู่ที่ การหลอกที่ทำให้คนกลัวมากที่สุดในขณะที่มีต้นทุน” (Cost) ของการหลอกก็คือ พลังงานที่ผีตัวนั้นต้องสูญเสียไปในแต่ละครั้ง จากการวิเคราะห์ของ Joab Corey อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนียร์ (West Virginia University) อธิบายถึงสาเหตุของการปรากฎตัวของผีหรือวิญญาณได้ดังต่อไปนี้

1) ทำไมผีชอบหลอกคนๆเดียวในตอนกลางคืน
ตอบ: เพราะตอนกลางคืนเป็นช่วงที่คนอยู่ในสภาพที่ หวาดกลัวและ สถาพจิตใจที่ไม่มั่นคงมากกว่าตอนกลางวันจากทัศนียภาพที่มืดคลึ้มซึ่งเป็นผลดีที่ผีนิยมเลือกที่จะปรากฎกาย นอกจากนี้ผีมักนิยมที่จะปรากฎกายให้ให้คนที่เดินทางคนเดียวได้เห็นมากกว่าปรากฎกายให้เห็นในลักษณะของกลุ่มคณะ เพราะคนที่เดินทางคนเดียวจะไม่มีเพื่อนหรือกำลังสนับสนุน (ในระหว่างที่เห็นผี) และมีโอกาสที่จะหวาดกลัวกับการปรากฎกลายนั้นมากกว่าคนที่เดินทางเป็นหมู่คณะ นอกจากนี้ ผีอาจเลือกที่จะปรากฎกายในตอนกลับ เนื่องจากผู้ที่นอนหลับจะมีสติสัมประชัญยะที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นการง่ายในการถูกหลอก (จากผี)

2) ทำไมผีถึงเลือกปรากฎกายในลักษณะของ ผมยาว ชุดขาว และไม่มีขา
ตอบ เพราะการปรากฎกายในชุดขาวจะเห็นได้ง่ายในตอนกลางคืน ในขณะที่ผมยาว (ในกรณีของผีผู้หญิง) จะทำให้แลดูหน้ากลัวยิ่งขึ้น และสาเหตุของการปรากฎกายแบบไม่มีขา (หรือลอยมา) เนื่องจากเป็นการปรากฎกายที่ผีจะใช้พลังงาน (หรือต้นทุน) สำหรับการปรากฎกายที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการปรากฎในลักษณะของการมีขา

3) ทำไมในบางครั้ง ผีถึงปรากฎกายโดยผ่านเครื่องมืออิเล็กโทรนิกซ์ เช่นกล้องถ่ายรูป และอาจมาในลักษณะของควันมัวๆ
ตอบ เพราะการปรากฎกายโดยผ่านกล้องถ่ายรูป เป็นการปรากฎกายที่ผีจะใช้พลังงาน (หรือต้นทุนในการปรากฎกาย) ที่ต่ำกว่าการประกฎกายโดยทั่วไป เพราะผีสามารถปรับคลื่นพลังงานให้สอดคล้องกับเครื่องรับที่เป็นกล้องถ่ายรูป (Electronic Receiver) ได้ง่ายกว่า ในขณะที่การปรากฎกายให้คนเห็นในลักษณะของ Individual Receiver) โดยตรงจะต้องใช้พลังงานในการปรับคลื่นสูง นอกจากนี้ ผีอาจเลือกที่จะปรากฎกายในลักษณะของควันมัวๆ แทนที่ที่จะให้เห็นรูปร่างหน้าตาที่แน่นอนเพราะการประกฎตัวเป็นแบบควันมัวๆ จะใช้พลังงานที่ต่ำกว่าการปรากฎแบบให้เห็นเป็นตัว

4) ทำไมเราถึงมองไม่เห็นผีทุกวัน
ตอบ ผีเลือกที่จะหลอกหรือปรากฎกายให้คนเห็นเป็นบางครั้งบางคราวมากกว่าที่จะปรากฎให้เห็นบ่อยๆ เนื่องจากการปรากฎตัวบ่อยๆ จะทำให้คนเหล่านั้นเกิดความเคยชินซึ่งส่งอาจผลทำให้เกิดอาการกลัวผีน้อยลง ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ (Benefits) จากการหลอกของผีแต่อย่างไร การปรากฎกายให้เห็นเป็นบางครั้งจะทำให้คนรู้สึกกลัวมากกว่า และเป็นการหลอกที่สัมฤทธิ์ผลกว่า ซึ่งประเด็นนี้ตรงกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ว่า ของหายาก (การหลอก) เป็นของมีค่า (ทำให้หวาดกลัวมากกว่า)

ดังนั้นเมื่อเข้าใจถึงสาเหตุการการปรากฎตัวของผีแล้วดังที่อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่า การหลอกของผีก็เป็นการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ประเภทหนึ่ง และนำมาสู่สาเหตุที่ว่า ทำไมเราถึงไม่จำเป็นต้องกลัวผีเนื่องจากถ้าวิเคราะห์ตามหลักการณ์ของ ผลได้และผลสีย” (Cost-Benefit Analysis) แล้ว ผีจะไม่มีสาเหตุอะไรที่จะต้องฆ่าคนๆ นั้นให้ตาย แต่จะเลือกที่จะหลอกหรือปรากฎกายให้เห็นเป็นครั้งคราวเนื่องจากถ้าผีเลือกที่จะฆ่าคนมากกว่าการหลอก คนๆ นั้นก็จะต้องกลายเป็นผี และอาจตามมาแก้แค้นผีตัวนั้นในภายหลังซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีแก่ผีตัวนั้นแต่อย่างไร ดังนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวทั้งหมด นักเศรษฐศาสตร์จึงมองไม่เห็นถึงสาเหตุของการที่ คนจะกลัวผีเพราะผีจะไม่ฆ่าคน แต่อาจจะเลือกปรากฎกายให้เห็นบ้างเป็นครั้งคราว ในรูปลักษณ์ที่ค่อนข้างแบบรูปแบบที่คาดเดาได้ ตอนกลางคืน (โดยเฉพาะตอนนอหรือเดินทางคนเดียว) ชุดขาว ผมยาว ไม่มีขา หรืออาจปรากฎในลักษณะของควันมัวๆ ผ่านกล้องถ่ายรูป ซึ่งถ้าเราเข้าใจถึงรูปแบบ (Pattern) ของการปรากฎกายในลักษณะดังกล่าวแล้ว เราก็ไม่มีความจำเป็นที่คนเราจะต้องไปกลัวผีแต่อย่างไร

อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ดังกล่าวอาจจะดูเป็นการวิเคราะห์ที่เป็นตรรกะ (Logic) มากเกินไป เพราะในความเป็นจริงแล้ว การตัดสินใจของมนุษย์ปุถุชน มักจะใช้อารมณ์ที่อยู่เหนือกว่าเหตุผลทั้งสิ้น ดังนั้น จึงมีคนจำนวนมากถึงกลัวผี ถึงแม้ว่าเขาเหล่านั้นจะไม่เคยเห็นผีเลยก็ตามความกลัวที่อยู่ภายใต้อารมณ์นี้นำมาสู่ วัฒนธรรม ความเชื่อ และความกลัว และมีคนหัวใสอีกจำนวนมากที่เลือกที่จะทำธุรกิจที่ หากินกับผีซึ่งเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาลอย่างประเมินค่าไม่ได้

ที่มา: Corey, Joab (2009) “The Rational Ghost: Using Basic Economic Principles to Explain Ghost Behavior, Department of Economics, West Virginia University, mimeo.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น