การบริโภค ในทาง Economic คือ
- การใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค
- การนำสินค้าและบริการมาใช้ประโยชน์เพื่อการผลิตเป็นสินค้าและบริการอื่น ๆ
ปัจจัยที่ใช้กำหนดการบริโภค คือ
1. รายได้ของผู้บริโภค
2. ราคาสินค้าและบริการ
3. ปริมาณเงินหมุนเวียนที่อยู่ในมือ
4. บริมาณสินค้าในตลาด
5. การคาดคะเนราคาของสินค้าและบริการในอนาคต
6. ระบบการค้าและการชำระเงิน
การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค มี 2 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฏีอรรถประโยชน์(Utility Theory)
2. ทฤษฏีเส้นความพอใจเท่ากัน(Indifference Curve Theory)
ทฤษฏีอรรถประโยชน์(Utility Theory)
@@ คือศึกษาความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการในขณะช่วงเวลาหนึ่ง
@@ สามารถวัดค่าได้
@@ มีหน่วยเป็น Util
ข้อจำกัดของ Utility Theory คือ
1. อรรถประโยชน์มีหน่วยวัดเป็น Util เป็นเพียงความรู้สึกนึกคิด ไม่มีตัวตน ไม่สามารถวัดค่าได้แน่นอน เป็นเพียงการประมาณตัวเลข ซึ่งอาจผิดพลาดได้
2. ผู้บริโภคมักไม่คำนึงถึง MU อย่างแท้จริง เพียงแต่อาศัยความเคยชินในการซื้อสินค้าเท่านั้น
3. ผู้บริโภคไม่สามารถวางแผนที่จะซื้อสินค้าอะไร จำนวนเท่าใด จึงจะได้รับ TU สูงสุด เนื่องจากภาวะตลาดเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตัวแปรที่เกี่ยวข้องคือ TU, MU, P, A
TU = TOTAL UTILITY อรรถประโยชน์รวม ความหมายคือ ความพอใจทั้งหมดที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภครวมที่หน่วยใดหน่วยหนึ่ง มีหน่วยเป็น Util
MU = Marginal Utility อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม ความหมายคือ ความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับเพิ่มขึ้นจากการบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้น 1 หน่วย มีหน่วยเป็น Util
PA = Price ของสินค้าชนิด A มีหน่วยเป็น หน่วยของเงินตราที่ใช้ต่อสินค้า 1 หน่วยเช่น บาทต่อ ขวด
A = ปริมาณของสินค้าชนิด A มีหน่วยเป็น หน่วยของสินค้าชนิดนั้น ๆ เช่น ขวด,ชาม,เล่ม เป็นต้น
B = ปริมาณของสินค้าชนิด B มีหน่วยเป็น หน่วยของสินค้าชนิดนั้น ๆ เช่น ขวด,ชาม,เล่ม เป็นต้น
TUn = MU1 + MU2 + MU3 + … MUn
ตัวอย่าง กินก๋วยเตี๊ยว
1 ชาม ได้รับความพอใจส่วนเพิ่ม = 10 Util นั่นคือ MU1 = 10 Util
2 ชาม ได้รับความพอใจส่วนเพิ่ม = 8 Util นั่นคือ MU2 = 8 Util
3 ชาม ได้รับความพอใจส่วนเพิ่ม = 4 Util นั่นคือ MU2 = 4 Util
4 ชาม ได้รับความพอใจส่วนเพิ่ม = 0 Util นั่นคือ MU2 = 0 Util
5 ชาม ได้รับความพอใจส่วนเพิ่ม = -2 Util นั่นคือ MU2 = -2 Util
ถ้าจะหาTU2คืออรรถประโยชน์รวมที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคก๋วยเตี๋ยว2ชามคือ 10+8 = 18 Util
จะพบว่า TU จะสูงสุดเมื่อกินก๋วยเตี๋ยวที่ 4 ชาม = 10+8+4+0 = 22 Util จึงสรุปว่า TU จะสูงสุดเมื่อ MU = 0 นั่นเอง
(แล้วทำไมกิน 3 ชาม ไม่ถือว่า TU สูงสุด (22 util เท่ากัน) จะกินให้เสียเงินทำไมกัน
อ่านแล้วช่วยตอบหน่วย ฝึกสมองประลองปัญญาครับ
เมื่อผู้บริโภคได้รับ TU สูงสุดแล้วย่อมไม่คิดเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนการบริโภคไปจากเดิม เราเรียกว่า ดุลยภาพของผู้บริโภค หรือ ผู้บริโภคอยู่ในภาวะดุลยภาพ
ดุลยภาพของผู้บริโภค แบ่งได้เป็น
1. กรณีผู้บริโภคมีรายได้ไม่จำกัด ราคาจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง
2. กรณีผู้บริโภคมีรายได้จำกัด ราคาเริ่มเข้ามามีบทบาท
2.1 กรณีซื้อสินค้าชนิดเดียว
2.2 กรณีซื้อสินค้า 2 ขนิด ราคาเท่ากัน
2.3 กรณีซื้อสินค้า 2 ชนิด ราคาไม่เท่ากัน
กรณีที่ 1 กรณีผู้บริโภคมีรายได้ไม่จำกัด(ราคาจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง)
TU ของสินค้าแต่ละชนิดรวมกัน ณ ที่ MU=0 ของสินค้าแต่ละชนิด
กรณีที่ 2 กรณีผู้บริโภคมีรายได้จำกัด(ราคาเริมเข้ามามีบทบาท)
1.1 กรณีซื้อสินค้าตัวเดียว
“อรรถประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับจากสินค้าหน่วยนั้น = อรรถประโยชน์ที่จะต้องสูญเสียไป จากการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหน่วยนั้น”
TU สูงสุด เมื่อ MU ของสินค้าหน่วยนั้น = MU ของเงินที่ใช้ซื้อสินค้าหน่วยนั้น
ถ้ากินก๋วยเตี๋ยว(a) 1 ชาม ในราคา 1 หน่วย(บาท) ได้อรรถประโยชน์ของเงินที่ใช้ซื้อก๋วยเตี๋ยว(MUm)
ก๋วยเตี๋ยว(a) 1 ชาม ในราคา Pa บาทได้อรรถประโยชน์ของเงินที่ใช้ซื้อก๋วยเตี๋ยว = MUm x Pa
มีหน่วยเป็น Util/บาทต่อชาม ฉะนั่นเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
MUa = MUm X Pa
MUa = Pa กำหนดให้ MUm = 1 ค่าคงที่
2.2 กรณีซื้อสินค้า 2 ชนิด ที่มีราคาต่อหน่วยเท่ากัน จะเกิดดุลยภาพ เมื่อ MUx = MUY
2.3 กรณีซื้อสินค้า 2 ชนิด ที่มีราคาต่อหน่วยไม่เท่ากันจะเกิดดุลยภาพเมื่อ
MUx/Py = MUx/Py
ทฤษฏีเส้นความพอใจเท่ากัน(Indifference Curve Theory)
หมายถึง เส้นที่แสดงการบริโภคสินค้า 2 ชนิดในสัดส่วนที่แตกต่างกันแต่ได้รับความพอใจที่เท่ากันตลอดทั้งเส้น ไม่ว่าจะเลือกบริโภคที่จุดใดของเส้น มีแผนการบริโภคสินค้าอย่างไร ผู้บริโภคก็จะได้รับความพอใจที่เท่ากันทั้งเส้น
Marginal Rate of substitution(MRS)
อัตราส่วนเพิ่มของการทดแทนกันของสินค้า 2 ชนิด หมายถึง การบริโภคสินค้าชนิดหนึ่งลดลงเมื่อบริโภคสินค้าอีกชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น 1 หน่วย เพื่อรักษาระดับความพอใจของผู้บริโภคให้คงเดิมหรือ ดังนั้น MRSXY คือ slope ของเส้น IC นั่นเอง
ตัวอย่าง
ถ้า MRSxy = -2 หมายความว่า การดื่ม coke ลดลง 2 แก้ว เมื่อกิน cake ร้านเฮงเฮง เบเกอรี่เพิ่มขึ้น 1 ชิ้น ส่วนเครื่องหมายลบหมายความถึง ความชันเป็นลบ นั่นเอง
ถ้า MRSyx = 0.5 หมายความว่า การกิน cake ร้านเฮงเฮง เบเกอรี่ลดลง ครึ่งชิ้น เมื่อดื่ม coke เพิ่มขึ้น 1 แก้ว
ทั้ง 2 กรณีเพิ่มลด เพื่อรักษาระดับความพอใจไว้เท่าเดิมนั่นเอง
เส้นงบประมาณหรือเส้นราคา (Budget Line or Price Line)
หมายถึง เส้นที่แสดงถึงจำนวนต่างๆ ของสินค้า 2 ชนิด ที่สามารถซื้อได้ด้วยเงินจำนวนหนึ่งที่เท่ากันตลอดทั้งเส้น พิจารณา ณ ราคาตลาดในขณะนั้น เส้นงบประมาณจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง ความชันเป็นลบเสมอ
การเปลี่ยนแปลงของ Budget Line ขึ้นอยู่กับ
1. รายได้เปลี่ยนแปลง(income change)
2. ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง
สมการของ Budget line คือ
B = PxX + PyY
เมื่อ B = งบประมาณที่มีอยู่สำหรับซื้อสินค้า
Px = ราคาสินค้า X Py = ราคาสินค้า Y
X = ปริมาณการซื้อสินค้า X Y = ปริมาณการซื้อสินค้า Y
ดุลยภาพของผู้บริโภค(consumer’s equilibrium)
จุด E คือจุดดุลยภาพ ซึ่งเส้น IC2 สัมผัสกับเส้นงบประมาณ พิจารณาได้ดังนี้
MRSxy = Px / Py
: เก็บตกจาก Lecture และค้นคว้าเพิ่มเติม
ต้น X13
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น