วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำอธิบาย inferior goods และ consumer behavior ด้วย case มาม่า

ทฤษฎีผู้บริโภค (Consumer Theory) ของวิชาเศรษฐศาสตร์สามารถใช้ในการอธิบายพฤติกรรมดังกล่าวได้เป๋นอย่างดี โดยได้จัดหมวดให้บะหมี่กึ่งสำเร็จอยู่ในหมวดของ สินค้าด้อย” (Inferior Goods) ซึ่งเป็นสินค้าที่มีราคาถูกและผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่บริโภคเมื่อตนมีรายได้ที่สูงขึ้น แต่เลือกที่จะบริโภคสินค้าประเภทอื่น (อย่างอาหารในที่ขายตามร้านค้าต่างๆ) ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่าและมีราคาสูงกว่า ในขณะเดียวกัน เมื่อรายได้ของผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่ลดลง ผู้บริโภคจะเปลี่ยนพฤติกรรมมาเลือกบริโภคสินค้าด้อยที่มีราคาถูกกว่านี้ ถึงแม้ว่าจะมีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าก็ตาม ในกรณีของผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นได้ส่งผลให้สินค้าและบริการประเภทอื่นๆได้เริ่มทยอยปรับตัวสูงขึ้น ทฤษฎีผู้บริโภคได้อธิบายถึงผลกระทบ 2 ประการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคคือ
ผลกระบบจากรายได้ (Income Effect) โดยกล่าวว่าราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจะลดอำนาจในการซื้อ (Purchasing Power) ของผู้บริโภคลง ทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะบริโภค สินค้าทั่วไป” (Normal Goods) อย่างเข้าไปนั่งกินอาหารตามร้านอาหาร ลดลง และเลือกที่จะบริโภคสินค้าด้อยอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น
ผลกระทบจากการทดแทน (Substitution Effect) โดยว่าผู้บริโภคเลือกที่จะบริโภคสินค้าทดแทนที่มี ราคาโดยเปรียบเทียบ” (Relative Price) ต่ำกว่าอีกสินค้าหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้ ราคาน้ำมันได้ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทต่างๆ รวมไปถึงอาหารสำเร็จรูป ในขณะที่ราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลับยังมีราคาต่ำโดยเปรียบเทียบ (ตกที่ต่ำสุดซองละประมาณ 5 บาทในขณะที่ราคาอาหารตามร้านจะมีราคาอยู่ที่ 30-40 บาท) ผลกระทบจากการทดแทนนี้ได้อธิบายว่าผู้บริโภคจะเลือกที่จะบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นทดแทนกับราคาสินค้าประเภทอื่นๆที่มีราคาแพงกว่า
สาเหตุหลักที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสามารถตั้งราคาขายที่ค่อนข้างต่ำและไม่จำเป็นที่ที่ผลิตจะต้องปรับราคาให้สูงขึ้นเหมือนกับสินค้าประเภทอื่นๆเนื่องมาจากกลยุทธ์ในการผลิตของผู้ผลิตที่เน้นทั้งทางด้าน 1) “การประหยักต่อขนาด” (Economies of Scale) ที่ผลิตในประมาณมากเพื่อให้ได้ต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำที่สุด และ 2) การพัฒนารสชาติใหม่ๆของผลิตภัณฑ์ (Product Differentiation) ที่ทำให้ผู้ผลิตสามารถจับกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น และสามารถที่จะปรับแผนการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน (Cost-Effective) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ถูกผลิคออกมาด้วยรสชาติใหม่ๆและนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ พร้อมไปกับการมีการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ การลงทุนขยายโรงงานเพิ่ม ซื้อเครื่องจักรใหม่ และมีการทำวิจัยทางการตลาดเพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นผู้หนึ่งที่สามารถเข้าใจสภาวะการณ์ทางการตลาดได้ดี และสามารถปรับตัวเพื่อให้ตนเองเป็นผู้ได้เปรียบ
จากการวิเคราะห์ข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผลกระทบทั้งสองประการได้ได้อธิบายว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากวิกฤตการน้ำมันได้ส่งผลต่อการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากแต่เป็นเพียงการวิเคราะห์ในระยะสั้น การบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสามารถใช้ในการเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ อย่างไม่เป็นทางการที่ดีได้ในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” (หรือที่หลายคนเรียกว่า ดัชนีมาม่า (Mama Index)” ซึ่งเป็นยี่ห้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดและมีชื่อที่ติดหูผู้บริโภคมากที่สุด) ไม่สามารถถูกใช้เป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมอย่างเป็นทางการได้ โดยเฉพาะเมื่อต้องพิจารณาเศรษฐกิจในระยะยาว เนื่องจาก ประการแรกที่ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจเลือกที่จะมีรสนิยมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับรสนิยมการบริโภคของแต่ละคน เช่นบางคนอาจเลือกที่จะบริโภคโจ๊กสำเร็จรูปหรือขนมปังที่มีราคาถูกแทน ประการที่สอง ผู้บริโภคอาจจะไม่เปลี่ยนแปลงการบริโภค โดยอาจคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงอาจเป็นเพียงภาวการณ์ชั่วคราว ซึ่งส่งผลให้อาจจะไม่มีเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคเลยก็ได้ และ ประการที่สาม ยังมีสาเหตุอื่นๆอันส่งผลให้ผู้บริโภคจะเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากผลกระทบทางน้ำมัน เช่น การมีรสชาติใหม่ๆให้ผู้บริโภคได้ลิ้มลองอยู่เสมอ การเก็บรักษาไว้ได้นานของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอันเป็นคุณสมบัติเฉพาะในปัจจุบันที่มีโฆษณาชวนเชื่อที่ออกมาแข่งขันกันอย่างรุนแรง (Aggressive Advertisement) รวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในเขตเมืองที่มีแนวโน้มในการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น